25 กันยายน 2550

การออกแบบมัลติมีเดียปฏิสัมพันธ์

การออกแบบมัลติมีเดียปฏิสัมพันธ์ อย่างมีประสิทธิภาพ มีแนวทางแนะนำ 5 แนวทางได้แก่
1. กำหนดเป้าหมาย (Goal) การกำหนดเป้าหมายจะช่วยให้สามารถสร้างสื่อฯ ได้ตรงกับความต้องการมากที่สุด โดยสามารถจำแนกเป้าหมายได้ดังนี้
1.1 เพื่อถ่ายทอดความรู้
1.2 เพื่อสร้างทักษะ
1.3 เพื่อสนับสนุนการทำงาน
2. ศึกษาพฤติกรรมของผู้เรียน โดยจะต้องศึกษาว่าผู้เรียนคิดอย่างไร ยอมรับนวัตกรรมใหม่รูปแบบนี้หรือไม่ ผู้เรียนเรียนรู้จาก Concept หรือศึกษากระบวนการก่อนนำไปพัฒนาความเข้าใจในเนื้อหา
3. พิจารณาถึงประสบการณ์ที่ดีที่สุดของผู้เรียน เพื่อให้ผู้เรียนรู้สึกมีส่วนร่วมกับสื่อฯ
4. ศึกษาความคงทนของเนื้อหา พิจารณาว่าเนื้อหามีความคงทนนำไปใช้งานได้นานแค่ไหน มีการเปลี่ยนแปลงบ่อยครั้งหรือไม่ อย่างไร
5. ใช้เทคนิคของทีม นำผู้เชี่ยวชาญหลายๆ ท่านนำเสนอความรู้ ผสมผสานกับผู้เรียนออกความเห็นของสื่อ
ทั้งนี้สามารถแสดงรายละเอียดย่อยของการออกแบบได้เป็นหัวข้อดังนี้
.
ขั้นตอนการวางแผน
1. ประเมินความเหมาะสม ความเป็นไปได้
1.1 วิเคราะห์ความต้องการของผู้เรียน/ผู้ใช้
1.2 อายุของสื่อ
1.3 ประโยชน์ของสื่อ
1.4 ลักษณะเฉพาะของผู้เรียน/ผู้ใช้
1.5 งบประมาณ
1.6 ระยะเวลา
2. เลือกชนิดของสื่อ
2.1 การนำเสนอ
2.2 การถ่ายทอดความรู้
2.3 CBT เดี่ยวๆ หรือกลุ่ม
2.4 ส่งเสริมผู้ปฏิบัติงาน
3. กำหนดรายละเอียด
ข้อกำหนดเกี่ยวกับฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์
การติดตั้งระบบ
กลยุทธิ์การประชาสัมพันธ์
ขั้นตอนการออกแบบ
กลยุทธ์การออกแบบ
สื่อเพื่อทบทวน, ฝึกฏิบัติ, สถานการณ์สมมุติ, เกม, แบบทดสอบฯลฯ
หน้าที่ของสื่อ วัตถุประสงค์
ข้อแนะนำการใช้
รูปแบบของสื่อ
ออกแบบต้นแบบ
การเก็บรวบรวมข้อมูล
การกำหนดหัวข้อ
การออกแบบเนื้อหา
ระดับของปฏิสัมพันธ์
รูปแบบปฏิกิริยาโต้กลับ
การแตกย่อยเนื้อหา
ข้อบัญญัติของผู้เรียน/ผู้ใช้
แนวทางการแก้ไข
ขั้นตอนการพัฒนา
ตั้งมาตรฐาน
กำหนด Story Board
ผลิตเนื้อหารูปแบบต่างๆ
การลงรหัสโปรแกรม
ตรวจสอบแก้ไขข้อบกพร่อง
ตรวจสอบนำร่อง
ตรวจสอบการนำไปใช้

ไม่มีความคิดเห็น: